Slide Background
Slide Background

มอบทุนติดตั้งแผงโซล่าเซลพร้อมไฟส่องสว่างให้กับบ้านพักนักเรียนขาดแคลนและด้อยโอกาสกรณีพิเศษ

วันที่ 10 เมษายน ๒๕๖๗ เวลา 15.00 น. ว่าที่ร้อยตรีสำรวย นกงาม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นประธานมอบเงินกองทุนเพื่อการศึกษาสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน 10,000 บาท ให้กับครอบครัวเด็กชายณัฐพงษ์ วงศา  นักเรียนโรงเรียนบ้านกฤษณา อำเภอขุขันธ์ ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีความจำเป็นต้องการความช่วยเหลือกรณีพิเศษ บ้านพักอาศัยไม่มีไฟฟ้าใช้ ทั้งนี้ เพื่อนำเงินที่ได้รับไปจัดซื้อแพงโซล่าเซล พร้อมไฟส่องสว่าง ติดตั้งบ้านพักอาศัย โดยมี นายสุริเยศ ถุงจันทร์ นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอขุขันธ์ ประธานกลุ่มโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการศึกษาร่วมเป็นเกียรติในการมอบทุน

มอบเงินกองทุน กศศ.3 ช่วยเหลือครูประสบอัคคีภัย

วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. ว่าที่ ร.ต.สำรวย นกงาม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้มอบหมายให้ ว่าที่ ร.ต.หญิงชนาธิป ผลวาวแวว รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และบุคลากร นำเงินกองทุนเพื่อการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (กศศ.3) จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาท) ไปมอบให้กับนางสาวเรวดี  พิมวงษา ตำแหน่งครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านหนองคูขาม อำเภอปรางค์กู่ ซึ่งบ้านพักอาศัยประสบอัคคีภัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง 

มอบจักรยาน มอบห้องน้ำและซ่อมแซมบ้านพักนักเรียนขาดแคลนด้อยโอกาสกรณีพิเศษ

วันที่ 5 เมษายน ๒๕๖๗ เวลา 13.00 น. ว่าที่ร้อยตรีสำรวย นกงาม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นประธานมอบรถจักรยานให้กับเด็กชายเทพทิวากร มะปราง นักเรียนโรงเรียนบ้านหัวช้าง อำเภอไพรบึง และเวลา 13.30 น. ได้มอบบ้านพักและห้องน้ำที่ปรับปรุงซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว ให้กับครอบครัว เด็กหญิงอทิตยา ม่วงราม นักเรียนโรงเรียนบ้านคูสี่แจ อำเภอไพรบึง ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีความจำเป็นต้องการความช่วยเหลือกรณีพิเศษ โดยมี ว่าที่ร้อยตรีหญิงชนาธิป ผลวาวแวว รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 นาย อนันต์ ทิพย์รักษ์ นายกสมาคมครูอำเภอไพรบึง ประธานกลุ่มโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการศึกษาร่วมเป็นเกียรติในการมอบ ทั้งนี้ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (กศศ.3) ชาวบ้านและผู้นำชุมชนร่วมให้การสนับสนุน

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เดย์แคมป์ อย.น้อย และ อย.น้อยพลัส สัญจร

วันที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเดย์แคมป์ อย.น้อย และ อย.น้อยพลัส สัญจร โซน 4 โดยมีครูและนักเรียนโรงเรียนพื้นที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ อำเภอไพรบึง และอำเภอภูสิงห์ จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่และบุคลากรจากสำนักงานธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล ทั้ง 4 อำเภอ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมโรงเรียน อย.น้อย มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

รับมอบเงินบริจาคเข้ากองทุน กศศ.3

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นางกรรณิกา ขุขันธิน ได้มอบเงิน จำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ให้กับกองทุนเพื่อการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (กศศ.3) เนื่องในงานฌาปนกิจศพนายตระกูลยง  ขุขันธิน  อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบก อำเภอขุขันธ์ โดยมีนางนันทนา หมื่นจิตร ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นผู้รับมอบ

พิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 26 มีนาคม 2567 จังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ได้ทำพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครราชสีมา ให้กับนักเรียน นักศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 22 ทุน นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ได้ไปรับมอบทุนการศึกษารายปี ในครั้งนี้ จำนวน 2 ราย ประกอบด้วย   เด็กชายวีระวัฒโยธิน  บุญอนันต์ ชั้น ป.5 โรงเรียนขุขันธ์วิทยา และเด็กหญิงกัญญาภัค  แสงจันทร์ ชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านปราสาท

ประชุมคณะกรรมการดำเนินการการขับเคลื่อนและบริหารกองทุนช่วยเหลือนักเรียนประสบภัยและด้อยโอกาส สพป.ศรีสะเกษ เขต ๓

วันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 07.30 น. ณ ห้องประชุมโสภิตธรรมขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ว่าที่ ร.ต.สำรวย นกงาม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นประธานการประชุมพิจารณางบประมาณในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาสกลุ่มพิเศษ จำนวน 11 ราย ประกอบไปด้วย นักเรียนในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จำนวน 4 ราย อำเภอปรางค์กู่ 2 ราย อำเภอไพรบึง 2 ราย และอำเภอภูสิงห์ 3 ราย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการการขับเคลื่อนและบริหารกองทุนเพื่อการศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (กศศ.3) จำนวน 30 คน ร่วมพิจารณาข้อมูลที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านซึ่งได้ดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นไปแล้ว และในครั้งนี้ได้มีมติให้ใช้เงินกองทุนเพื่อการศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 (กศศ.3) ช่วยเหลือตามสภาพความจำเป็นที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จในแต่ละราย รวมเป็นเงิน 115,000 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในสถานศึกษา

วันที่ 15 มีนาคม 2567  คณะกรรมการได้ออก นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานโรงเรียนบ้านสามขา อำเภอปรางค์กู่ ที่ได้รับงบประมาณเงินดอกผลกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน นำไปดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน ซึ่งโรงเรียนได้นำงบประมาณไปจัดกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตกับชุมชนภาคีเครือข่ายเพื่ออาหารนักเรียนในโรงเรียนโดยการเลี้ยงไก่เนื้อ ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ สร้างรายได้และได้นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชุม เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนดำเนินการต่อไป และได้รับงบประมาณไปจัดกิจกรรมสร้างความเท่าเทียมด้านโภชนาการ โดยการจัดทำอาหารเช้า อาหารเสริม ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ทำให้ภาวะโภชนาการของนักเรียนดีขึ้น

การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในสถานศึกษา

วันที่ 14 มีนาคม 2567  คณะกรรมการได้ออก นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานโรงเรียนวัดเขียน อำเภอขุขันธ์ ที่ได้รับงบประมาณเงินดอกผลกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน นำไปดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน ซึ่งโรงเรียนได้นำงบประมาณไปจัดกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตกับชุมชนภาคีเครือข่ายเพื่ออาหารนักเรียนในโรงเรียนโดยการเพาะเห็ดนางฟ้า ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ สร้างรายได้และได้นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชุม เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนต่อไป

การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในสถานศึกษา

วันที่ 15 มีนาคม 2567  คณะกรรมการได้ออก นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานโรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย อำเภอปรางค์กู่ ที่ได้รับงบประมาณเงินดอกผลกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน นำไปดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน ซึ่งโรงเรียนได้นำงบประมาณไปจัดกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตกับชุมชนภาคีเครือข่ายเพื่ออาหารนักเรียนในโรงเรียนโดยการเลี้ยงไก่เนื้อ ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ สร้างรายได้และได้นำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน และจำหน่ายให้กับชุมชุม เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนต่อไป